ปัจจุบันเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ เพราะการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงจะส่งผลให้สุขภาพจิตแข็งแรง และเมื่อสุขภาพกายและจิตใจแข็งแรงก็จะช่วยให้เราสามารถทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการใส่ใจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ อีกทั้งในยุคปัจจุบันมีโรคภัยมากมายที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ โรคไต นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเช่น ปัญหาของ pm 2.5 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคภูมิแพ้ แล้วยังมีโรคที่เกิดจากการติดเชื้ออีกหลาย ๆ โรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ หรือโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียอีกมากมาย และยังไม่นับถึงโรคมะเร็งต่าง ๆ อีกหลายชนิด
ดังนั้นหากเราสามารถรู้ถึงสถานะทางสุขภาพของตัวเราเอง ก็จะสามารถทำให้เราสามารถวางแผนการดูแลสุขภาพตนเอง และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ การตรวจสุขภาพประจำปีจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้เราทราบถึงสภาวะสุขภาพของตัวเราเอง หรือหากตรวจพบความผิดปกติก็จะได้เข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามรุนแรง
สารบัญ
การตรวจสุขภาพประจำปีคืออะไร?
การตรวจสุขภาพคือการเช็คร่างกายในขณะที่ร่างกายยังไม่มีอาการความผิดปกติใด ๆ แต่หากมีอาการเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว จะเรียกว่าเป็นการตรวจวินิจฉัยโรค หรือการตรวจรักษาโรค ไม่เข้าข่ายว่าเป็นการตรวจสุขภาพ
ซึ่งการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่จะให้ประโยชน์ในการวางแผนการดูแลสุขภาพ หรือหากตรวจพบโรคก็จะได้ทำการรักษาก่อนที่โรคจะลุกลามรุนแรง เพราะการตรวจสุขภาพนั้นสำคัญ จึงจะเห็นว่าในองค์กรขนาดใหญ่ หลาย ๆ องค์กร มักจะมีการจัดให้พนักงานมีการตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญอย่างไร?
การตรวจสุขภาพประจำปีมีความสำคัญเป็นอย่างมากในทุกช่วงวัย ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมไปถึงโรคบางโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ล้วนแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเนื่องจากโรคบางโรคในระยะเริ่มต้นไม่แสดงอาการผิดปกติ เช่น ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคเหล่านี้เป็นภัยเงียบที่ควรระวัง การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีประโยชน์ในการค้นหาโรคหรือภาวะผิดปกติ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและการรักษาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ใครบ้างควรได้รับการตรวจสุขภาพ?
การตรวจสุขภาพควรได้รับการตรวจในทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ โดยคณะกรรมการพัฒนาการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งกลุ่มการตรวจสุขภาพออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0-18 ปี) กลุ่มวัยทำงาน (อายุ18-60 ปี) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) และกลุ่มหญิงมีครรภ์
ตรวจสุขภาพประจำปีตรวจอะไรบ้าง?
- ซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันเลือด
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจวิเคราะห์ทางเลือด เช่น การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (CBC), การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS), การตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c), การตรวจวัดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม, ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL), ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL), ไขมันไตรกลีเซอไรด์, การตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด (uric acid), ตรวจการทำงานของไตจากการตรวจวัดระดับปริมาณของเสียในเลือด (BUN), การวัดระดับค่าของครีเอตินินในเลือด (Cr), ตรวจไวรัสตับอักเสบ (hepatitis A, B), ตรวจการทำงานของตับจากการตรวจค่าเอนไซม์ AST, ALT และ ALP เป็นต้น
- การตรวจทางห้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อดูการทำงานของไตการหรือการตรวจวิเคราะห์ทางเลือด เช่น การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (CBC), การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS), การตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c), การตรวจวัดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม, ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL), ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL), ไขมันไตรกลีเซอไรด์, การตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด (uric acid), ตรวจการทำงานของไตจากการตรวจวัดระดับปริมาณของเสียในเลือด (BUN), การวัดระดับค่าของครีเอตินินในเลือด (Cr), ตรวจไวรัสตับอักเสบ (hepatitis A, B), ตรวจการทำงานของตับจากการตรวจค่าเอนไซม์ AST, ALT และ ALP เป็นต้น
- เก็บตัวอย่างอุจจาระ เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง และโรคพยาธิต่าง ๆ
- การตรวจวินิจฉัยทางรังสีหรือการเอกซเรย์ทรวงอก
- การตรวจอัตราซาวนด์ช่องท้อง
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- สำหรับสุภาพสตรี นอกจากการตรวจข้างต้นแล้ว ควรที่จะรับการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
- ช่วงอายุ 30-39 ปี ควรตรวจมะเร็งเต้านมทุก ๆ 3 ปี และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมทุกปี
- ช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงวัย
รายการตรวจ | วัยเด็กและวัยรุ่น (อายุ 0-18 ปี) | วัยทำงาน (อายุ18-60 ปี) | วัยผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) | หญิงมีครรภ์ |
---|---|---|---|---|
การซักประวัติ และการตรวจร่างกายทั่วไป | ||||
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดเส้นรอบเอว วัดความดันเลือด | ||||
ตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด (CBC) | ||||
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS), ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) | ||||
ตรวจวัดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม, ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL), ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL), ไขมันไตรกลีเซอไรด์ | ||||
ตรวจการทำงานของไตจากการตรวจวัดระดับปริมาณของเสียในเลือด (BUN), การวัดระดับค่าของครีเอตินินในเลือด (Cr) | ||||
ตรวจไวรัสตับอักเสบ (hepatitis A, B) | ||||
ตรวจการทำงานของตับจากการตรวจค่าเอนไซม์ AST, ALT และ ALP | ||||
ตรวจปัสสาวะ | ||||
ตรวจอุจจาระ | ||||
ตรวจวินิจฉัยทางรังสีหรือการเอกซเรย์ทรวงอก | ||||
ตรวจอัตราซาวน์ช่องท้อง
| ||||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
| ||||
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม (เฉพาะสตรี)
|
การตรวจสุขภาพประจำปีตามช่วงวัย
- ติดต่อทำประวัติเวชระเบียนกับทางโรงพยาบาลและทำนัดวันตรวจสุขภาพ
- พักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อย 8-12 ชม. แต่ดื่มน้ำเปล่าได้
- หากมีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยโรค สามารถรับประทานยาได้ตามปกติ ยกเว้นผู้ที่เป็นเบาหวาน ไม่แนะนำให้รับประทานยามา เพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไปเนื่องจากมีการงดอาหารก่อนการตรวจสุขภาพด้วย
- สำหรับสุภาพสตรีควรตรวจสุขภาพหลังจากมีรอบเดือนแล้วประมาณ 7 วัน และสำหรับสุภาพสตรีที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมเพิ่มเติมด้วย
สรุป
การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นพื้นฐานในการดูแลคุณภาพชีวิตที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งทุกคนล้วนต้องการมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ การที่สภาพร่างกายภายนอกที่ดูปกติดี แต่ภายในอาจมีความผิดปกติซ่อนอยู่เสมือนเป็นภัยเงียบ การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้สามารถตรวจพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ในระยะเริ่มต้น นอกจากนี้การตรวจสุขภาพประจำปีจะทำให้เราทราบถึงสถานะสุขภาพในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางการป้องกันโรค หรือลดความรุนแรงของการเกิดโรคบางโรคได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงวัยตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตามนอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำแล้วแล้ว ก็ไม่ควรละเลยการดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารรสจัด รับประทานอาหารปิ้งย่างหรือทอด เพียงเท่านี้ก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคภัยต่าง ๆ และทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้