ปัจจุบันการคุมกำเนิดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการวางแผนครอบครัวและสุขภาพของผู้หญิง วิธีการคุมกำเนิดมีหลากหลายแบบ แต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสีย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ และความต้องการในการมีบุตรในอนาคต หนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือวิธี “ฝังยาคุม” เป็นวิธีการคุมกำเนิดระยะยาวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดฝังใต้ผิวหนัง ระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 3 ปี เพื่อให้ยังคงป้องกันการตั้งครรภ์ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์เมื่อครบเวลา โดยแพทย์จะทำการฝังแท่งเล็กๆ ที่บรรจุฮอร์โมนไว้ใต้ผิวหนังบริเวณด้านในของท่อนแขน ฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจะเข้าสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่องช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารบัญ
- ฝังยาคุม คืออะไร
- การฝังยาคุมทำงานอย่างไร
- ขั้นตอนการฝังยาคุม
- การถอดยาคุมกำเนิด
- ข้อดี ข้อเสียของการฝังยาคุม
- ผลข้างเคียงของการฝังยาคุม
- ใครไม่เหมาะกับฝังยาคุม
- สรุป
ฝังยาคุม คืออะไร
การฝังยาคุม หรือ อุปกรณ์คุมกำเนิดฝังใต้ผิวหนัง เป็นวิธีการคุมกำเนิดชนิดหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูง โดยแพทย์จะฝังแท่งเล็กๆ ที่บรรจุฮอร์โมนไว้ใต้ผิวหนังบริเวณด้านในของท่อนแขน (birth control implant) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายแท่ง วางอยู่ใต้ผิวหนัง อุปกรณ์นี้ปล่อยฮอร์โมนโปรเจสเตอริน (progestin) เข้าสู่กระแสเลือดของคุณอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ อุปกรณ์คุมกำเนิดที่ฝังใต้ผิวหนังมีความยาวประมาณ 1.6 นิ้ว (4 เซนติเมตร) และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งในแปดนิ้ว อุปกรณ์นี้มีความยืดหยุ่น สามารถงอได้และมีขนาดประมาณเท่ากับไม้ขีดไฟ
การฝังยาคุมทำงานอย่างไร
ยาฝังคุมกำเนิดจะปล่อยฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ ฮอร์โมนโปรเจสตินจะช่วยป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ นอกจากนี้ ยังทำให้เมือกในปากมดลูกหนาขึ้น ทำให้สเปิร์มยากที่จะเข้าถึงไข่ (ในกรณีที่เกิดการตกไข่) และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิยากที่จะฝังตัว โดยการฝังยาคุมมีด้วยกัน 3 แบบ คือ
- ยาคุมแบบ 1 ปี โดยทั่วไปจะใช้ฮอร์โมน Levonorgestrel เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสังเคราะห์ มีปริมาณฮอร์โมนที่ปล่อยออกมามากกว่า ทำให้มีผลข้างเคียงมากกว่า และต้องเปลี่ยนแท่งยาบ่อยกว่า
- ยาคุมแบบ 3 ปี ส่วนใหญ่ใช้ฮอร์โมน Etonogestrel ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์คล้ายโปรเจสเตอโรน มีปริมาณฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาน้อยกว่า ทำให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า และคุมกำเนิดได้นานกว่า
- ยาคุมแบบ 5 ปี ประกอบด้วยแท่งยา 2 แท่ง แต่ละแท่งบรรจุฮอร์โมน Levonorgestrel มีกลไกการทำงานเช่นเดียวกับยาคุมแบบฝัง 3 ปี
ขั้นตอนการฝังยาคุม
- นอนคว่ำบนเตียงตรวจ โดยงอแขนของคุณที่ข้อศอกเหมือนตัวอักษร “L”
- ทำความสะอาดบริเวณใต้ท้องแขนด้านใน ฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บ
- โดยทั่วไป ยาจะถูกฝังที่แขนที่คุณไม่ถนัด
- แพทย์จะฝังยาคุมกำเนิดใต้ผิวหนังโดยใช้เครื่องมือพิเศษคล้ายเข็ม
- ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล แต่แพทย์อาจวางผ้าพันแผลไว้ด้านบน ซึ่งยังช่วยในการลดรอยช้ำ
- หลังจากฝังยา ควรสังเกตอาการตัวเอง หากมีอาการผิดปกติควรแจ้งแพทย์
การถอดยาคุมกำเนิด
การถอดยาฝังคุมกำเนิดสามารถทำได้ตลอดเวลาหลังจากการฝัง ขึ้นอยู่กับความต้องการ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเวลาที่เหมาะสมในการถอด แพทย์อาจแนะนำให้คุณงดกิจกรรมหนักๆ ก่อนการถอด และอาจต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดก่อนเข้ารับการรักษา
- แพทย์จะทำให้ผิวหนังของคุณชาด้วยยาชาเฉพาะที่
- จากนั้น แพทย์จะกรีดผิวหนังขนาดเล็กและดึงยาฝังคุมกำเนิดออกด้วยคีมหรือแหนบขนาดเล็ก
- หลังการถอดไม่จำเป็นต้องเย็บแผล แพทย์จะปิดแผลด้วยผ้าพันแผล หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล ทำความสะอาดแผล และสังเกตอาการติดเชื้อ
- กระบวนการนี้ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที
ข้อดี ข้อเสียของการฝังยาคุม
ข้อดีของการฝังยาคุม
- ปัจจุบันการฝังยาคุมใช้ได้นานถึง 3 ปี แต่มีประสิทธิภาพได้นานถึง 5 ปี
- ไม่จำเป็นต้องทานยาประจำทุกวันหรือเปลี่ยนยาประจำสัปดาห์
- ไม่รบกวนความสัมพันธ์ทางเพศ
- ฝังยาคุมไม่เห็นได้จากภายนอก
- ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้การคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจน
- ฝังยาคุมสามารถให้นมบุตรได้
- สามารถช่วยลดประจำเดือนที่มีมากเกินไป
- สามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังจากถอดยาฝังคุมกำเนิด
ข้อเสียของการฝังยาคุม+
- อาจมีผลข้างเคียงชั่วคราว
- ประจำเดือนอาจไม่สม่ำเสมอ
- อาจทำให้เป็นสิวเยอะขึ้น
- ไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs)
- แพทย์ต้องถอดออกเมื่อใช้เสร็จแล้ว
- อาจมีผลต่อยาบางชนิดและยาปฏิชีวนะ
- มีความเสี่ยงเล็กน้อยในการติดเชื้อผิวหนังที่บริเวณที่ฝัง
ผลข้างเคียงของการฝังยาคุม
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เลือดออกกะปริดกะปรอย หรือประจำเดือนอาจหยุดไปเลย
- อาจรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล
- บางรายอาจน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง อาจมีสิวขึ้น ผิวมัน หรือผมร่วง
- อาจมีอาการปวดศีรษะบ่อยขึ้น
- อาจรู้สึกเจ็บเต้านมหรือเต้านมบวม
- อาจมีอาการปวดท้องน้อย
- อาจรู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ
ผลข้างเคียงที่รุนแรง (เกิดขึ้นได้น้อย)
- เกิดลิ่มเลือด แม้จะเกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็เป็นผลข้างเคียงที่ร้ายแรง อาการ เช่น ปวดขาบวม แดง รู้สึกเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก
- ภาวะหัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดสมอง
- เนื้องอกในตับ
ใครไม่เหมาะกับฝังยาคุม
- ผู้ที่มีประวัติเลือดออกผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคตับ
- ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
- ผู้ที่แพ้ฮอร์โมนโปรเจสเตอริน
- ผู้ที่มีประวัติการเกิดลิ่มเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง
สรุป
การฝังยาคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ สะดวกสบาย และมีอัตราความสำเร็จสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามอาจมีผลข้างเคียง เช่น การเปลี่ยนแปลงรอบเดือน หรืออาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน แต่ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการฝังยาคุมควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น