ศูนย์กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด (physical therapy) เป็นการส่งเสริม ป้องกัน และรักษา รวมไปถึงจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกายที่สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ซึ่งต้องทำโดยนักกายภาพบำบัด ผู้มีประสบการณ์ และปฏิบัติงานร่วมกับแพทย์ที่มีความชำนาญการด้านกระดูก กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
จุดเด่น
ให้บริการด้านการรักษา ป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟู เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจากสภาพหรือภาวะของโรค โดยวิธีการและเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ร่วมกับการแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการออกกำลังกาย
อาการที่ควรได้รับการกายภาพบำบัด
- มีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือทำงานที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
- อาการปวดเมื่อยต่าง ๆ เช่น ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดแขน ปวดสะโพก ปวดเข่า ปวดขา เป็นต้น
- มีลักษณะการเดินผิดปกติ เช่น เดินตัวเอียง เดินลากเท้า เป็นรองช้ำ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการชาแขน หรือชาลงขา
- ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองหรือผ่าตัดข้อเสื่อม ที่อาจเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เคลื่อนไหวหรือลุกนั่งลำบาก
- มีอาการเคลื่อนไหวข้อต่อได้ไม่สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น นิ้วล็อค ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด
บริการของเรา
กายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopedic physical therapy)
- ปวดคอบ่า (Office syndrome)
- ปวดไหล่ (Shoulder tendinitis) ไหล่ติด (Frozen shoulder)
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
- ผังพืดข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome)
- นิ้วล็อก (Trigger finger)
- ปวดหลัง (Back pain)
- กระดูกหลังหรือคอเสื่อม (L-spondylosis/C-spondylosis)
- หมอนรองกระดูกหลังทับเส้นประสาท (HNP)
- กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
- ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain)
- เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรัง (Tennis & Golfer elbow)
- ปวดเข่า (Knee pain) ข้อเข่าเสื่อม (OA knee)
- รองช้ำหรือผังพืดฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis)
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis)
- ข้อเท้าพลิกหรือแพลง (Ankle sprain)
- การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา (Sports injury)
- ฟื้นฟูหลังการผ่าตัดซ่อมเอ็นข้อเข่า (ACL/PCL rehabilitation)
กายภาพบำบัดทางระบบประสาท (neurologic physical therapy)
- ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke)
- ฟื้นฟูผู้ป่วยกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง (Bell’s palsy)
เครื่องมือและหัตถการทางการแพทย์
- เครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัดโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ ของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical stimulation)
เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัดโดยการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมทั้งกระตุ้นการทำงานกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
- เครื่องดึงกระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนเอว (Traction)
เป็นเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ใช้ในการยืดข้อต่อบริเวณคอหรือบริเวณเอว เพื่อช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ลดแรงที่กระทำต่อข้อต่อกระดูกสันหลังช่วยให้อาการปวดจากแรงกดที่กระดูกสันหลังลดลง
- การใช้ความร้อนโดยไขพาราฟิน (Paraffin bath)
เป็นการใช้ขี้ผึ้งพาราฟิน มาใช้ให้ความร้อนเพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ลดอาการปวด ตึง ของข้อต่อบริเวณมือ และเท้า
- การใช้ถุงหรือแผ่นประคบร้อน (Hot pack)
โดยการใช้ถุงหรือแผ่นประคบร้อน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด เกร็ง ตึง เช่น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น และยังช่วยให้ผ่อนคลาย เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย
- การรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง
เป็นการรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง เพื่อลดการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยให้การซ่อมแซมเนื้อเยื่อดีขึ้น ลดบวมได้
ทีมแพทย์และบุคลากร
ให้บริการด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย
ข้อมูลสาขาศูนย์กายภาพบำบัดโรงพยาบาลกรุงไทย
สถานที่และเวลาให้บริการ
โรงพยาบาลกรุงไทย ปากเกร็ด ชั้น 7
วันจันทร์ พุธ และศุกร์ เวลา 8.00 – 20.00 น.
วันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์ เวลา 8:00 – 17:00 น.
สถานที่และเวลาให้บริการ
โรงพยาบาลกรุงไทย เวสเทิร์น ชั้น 2 วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00-17.00 น.